พยาธิปากขอ (Hookworm)
พยาธิปากขอคืออะไร
และทำให้เกิดโรคอะไร
พยาธิปากขอเป็นพยาธิที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงในคนและสัตว์
พยาธิใช้ตะขอบริเวณปากช่วยในการเกาะและทำให้ผนังหลอดเลือดที่ผนังลำไส้ของคนและสัตว์เสียหาย
คนที่มีพยาธิปากขออาจมีอาการทางผิวหนังที่เรียกว่า โรคตัวอ่อนพยาธิปากขอไชผิวหนัง
(cutaneous larva migrans) ซึ่งเกิดจากตัวอ่อนของพยาธิปากขอเคลื่อนที่จากลำไส้ไปยังผิวหนัง
หรืออาจจะพบพยาธิตัวเต็มวัยในลำไส้ได้
การกระจายโรค
พบได้ทั่วประเทศ
แต่พบมากในเขตภาคใต้เนื่องจากเดินเท้าเปล่ากรีดยางตอนเช้า และถ่ายอุจาระตามพื้นดิน
พยาธิปากขอเป็นโรคที่มีระบาดอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศโซนร้อน หรือในกลุ่ม
ประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งการกำจัดอุจจาระไม่ถูกหลักสุขาภิบาล มีพื้นดิน
ความขึ้นและอุณหภูมิ เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตสำหรับตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้
ในประเทศไทยพบประชาชนป่วยด้วยโรคพยาธิปากขอมากเป็นอันดับหนึ่ง
มีอัตราเป็นโรคนี้สูงถึงร้อยละ 27 เพราะเป็นประเทศกสิกรรมที่มีสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสม
และกสิกรชอบถ่ายอุจจาระตามพื้นดินหรือตามสุมทุมพุ่มไม้ ไม่นิยมสวมรองเท้า
มักระบาดมากทางภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพบมากที่สุดทางภาคใต้
เชื้อที่ทำให้เกิดโรค
เกิดจากพยาธิปากขอ 3 ชนิด คือ
1.เนคาเทอร์ อเมริกานัส (Necator
americanus) มักจะพบได้มากในภาคเหนือและ ภาคใต้ของอเมริกา
ที่พบในเมีองไทยส่วนใหญ่คือชนิดนี้
2.แองไคโลสโตมา ดูโอนนาเล(Ancylostomaduodenale)
พบในกลุ่มประเทศ
เมดิเตอร์เรเนียม
3.แองไคโลสโตมา ซีลอนิคคุม (Ancylostoma
ceyloniccum)
พยาธิชนิดที่ 1 และ 2 พบได้ในทุกๆ
ภาคของทวีปเอเชีย อาฟริกาใต้และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
พยาธิปากขอหรือพยาธิดูดเลือด
เป็นพยาธิตัวกลม สีขาว มีขนาดเล็ก ลักษณะลำตัวยาวเรียว ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ตัวผู้ปลายหางจะแผ่กว้างตัวเมียปลายหางจะเรียวตรง
สามารถมีชีวิตอยู่ในร่างกายคนได้ประมาณ 6-8 ปี
ส่วนไข่สามารถมีชีวิตอยู่บนดินได้นานนับเดือน
พยาธิปากขอจะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก
โดยใช้ส่วนหัวที่ปากซึ่งมีฟันหรือขอเกาะฝังเข้าไปในผนังของลำไส้เล็กแล้วดูดเลือดจากเส้นฝอยเป็นอาหาร
ดังนั้นผู้ป่วยที่มีพยาธิชนิดนี้อยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมากจะทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้
สัตว์ชนิดใดเป็นโรคพยาธิปากขอได้บ้าง
พยาธิปากขอพบในสัตว์ได้หลายชนิด
แต่ที่เกี่ยวข้องกับคน ส่วนใหญ่แล้วเป็นพยาธิปากขอในสัตว์กินเนื้อ เช่น สุนัข
และแมว มีรายงานในบางประเทศว่า มีสุนัขประมาณ 96% และแมวประมาณ 80% ที่มีพยาธิปากขออยู่ในร่างกาย
สัตว์ติดโรคพยาธิปากขอได้อย่างไร
ในสุนัข
ตัวอ่อนของพยาธิสามารถติดต่อจากแม่ไปยังลูกในช่วงตั้งท้องหรือติดต่อผ่านทางปากในช่วงที่ลูกสัตว์ดูดนม
สุนัขแมวและสัตว์อื่นๆ ยังสามารถติดพยาธิได้จากสิ่งแวดล้อม
โดยไข่ของพยาธิปากขอจะถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระของสัตว์ที่ติดเชื้อแล้วฟักตัวเป็นตัวพยาธิตัวอ่อนในดิน
โดยสัตว์สามารถติดเชื้อจากการกินพยาธิจากดินเข้าไป
นอกจากนี้ตัวอ่อนพยาธิยังสามารถไชผ่านผิวหนังโดยตรงได้
หากมีการสัมผัสกับดินที่มีพยาธินานประมาณห้าถึงสิบนาที
โรคพยาธิปากขอมีผลต่อสัตว์
อาการและความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนของพยาธิที่มีอยู่ในร่างกาย
ในสุนัขและแมว อาจทำให้เกิดท้องร่วงที่อาจมีเลือดปน
หรือมีเหงือกซีดจางซึ่งแสดงว่าเกิดภาวะโลหิตจางหรือเสียเลือด น้ำหนักลด
ลูกสุนัขและลูกแมวอาจตายได้ถ้ามีพยาธิเป็นจำนวนมาก
พยาธิปากขอที่ไชเข้าผิวหนังจะทิ้งรอยนูนสีแดงหรือเส้นตามทางที่ตัวอ่อนพยาธิเคลื่อนที่ไป
คนติดโรคพยาธิปากขอได้หรือไม่
โดยปกติคนจะมีพยาธิปากขอชนิดที่พบได้ทั่วไปในคนอยู่แล้ว
นอกจากนี้คนสามารถติดพยาธิจากสัตว์ได้โดยการกินตัวอ่อนพยาธิในดินที่ปนเปื้อนไปด้วยอุจจาระสัตว์ที่ติดเชื้อเข้าไป
โดยอาจเกิดขึ้นได้หากไม่ทำความสะอาดและล้างมือหลังจากสัมผัสดิน
หรือติดพยาธิได้โดยตรงจากการที่พยาธิไชเข้าผิวหนังเรียกว่า
โรคจากการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนพยาธิผ่านผิวหนัง
หรือตัวอ่อนพยาธิไชผิวหนังและทำให้เกิดรอยแดงตามทางที่ถูกตัวอ่อนพยาธิไช
พยาธิปากขอ Ancylostoma ceylanicum สามารถเจริญเป็นพยาธิปากขอตัวแก่ในลำไส้เล็กของคนได้ แต่พยาธิAncylostoma caninum จะไม่สามารถเจริญเป็นพยาธิตัวแก่ในทางเดินอาหารของคนได้
ควรติดต่อใครเมื่อสงสัยว่าเกิดโรคพยาธิปากขอ
กรณีสัตว์ : พบสัตวแพทย์
กรณีคน : พบแพทย์
แหล่งของโรค
ได้แก่มนุษย์หรือผู้ที่มีพยาธิปากขออาศัยอยู่ในร่างกาย
ภาพวงจรชีวิตของพยาธิปากขอ (Hookworm)
วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิปากขอตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กโดยกัดติดกับเยื่อบุผนังลำไส้
ดูดเลือดและน้ำเลี้ยงจากลำไส้ พยาธิตัวเมียจะออกไข่วันละ 6000-20000 ฟอง
ไข่จะออกมากับอุจาระ
ถ้าอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ตัวอ่อนจะออกจากไข่ใน 1-2 วัน เป็นตัวอ่อนระยะที่หนึ่งเรียกว่า
rhabditiform larvae เจริญในดินหรืออุจาระ
ตัวอ่อนจะลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่สองมีลักษณะเหมือนตัวอ่อนระยะที่หนึ่งแต่ตัวใหญ่กว่าโดยใช้เวลา5-10
วัน และจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่สามเรียก filariform ในระยะเวลา
5-10 วัน ระยะนี้เป็นระยะติดต่อ
ซึ่งสามารถไชทะลุผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายคนได้ เข้าสู่หลอดเลือดดำ ไปหัวใจ เข้าปอด
ไชออกจากปอดเข้าคอยหอย หลอดอาหาร
แล้วสู่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในลำไส้เล็ก ตัวแก่ส่วนใหญ่จะถูกขับออกใน 1-2
ปีแต่อาจจะอยู่ได้หลายปี
การติดต่อ ระยะติดต่อ และวงจรชีวิต
เมื่อตัวอ่อนในระยะติดต่อไชเข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์และผสมพันธุ์กันแล้ว
พยาธิตัวเมียจะปล่อยไข่ได้ 10,000 – 20,000 ฟอง
ลักษณะไข่เหมือนเมล็ดมะละกอ
แต่เปลือกบางใสมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือมองเห็นได้ยาก
ไข่ของพยาธิปากขอจะปนออกมากับอุจจาระ
เมื่อตกถึงพื้นดินจึงจะเจริญเป็นตัวอ่อนแล้ว ฟักออกจากไข่ภายใน 24-48 ชั่วโมง หลังจากลอกคราบ 2 ครั้ง
หากมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะสม ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยใช้เวลาเจริญจากไข่เป็นตัวอ่อนประมาณ 7
วันก็กลายเป็นตัวแก่
ระยะติดต่อ
เมื่อมีผู้เดินเท้าเปล่ามาเหยียบดิน
ตัวอ่อนก็จะไชทะลุผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดตุ่มคัน (grounditch) ตัวอ่อนจะผ่านทางเดินน้ำเหลืองและเส้นเลือดเข้าสู่หัวใจ
ปอด แล้วเจาะทะลุผ่านผนังถุงลมปอดออกมาอยู่บริเวณหลอดอาหาร
จากนั้นจะถูกกลืนลงสู่กระเพาะไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ในลำไส้เล็กต่อไป
เมื่อผสมพันธุ์แล้วก็จะผลิตไข่ออกมากับอุจจาระเป็น วัฏจักร
ถ้าเรากินน้ำหรืออาหารที่มีระยะติดต่อของพยาธิปากขอเข้าไป
ก็จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
ระยะฟักตัวของโรค
นับจากพยาธิไชทะลุเข้าง่ามนิ้วมือนิ้วเท้าหรือเข้าสู่ร่างกายไป
จนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในลำไส้และสามารถมีไข่ปนออกมากับอุจจาระ
ใช้เวลาประมาณ 5 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนครึ่ง
ระยะติดต่อ
คนที่มีพยาธิอยู่ในร่างกาย สามารถถ่ายทอดพยาธิได้ตลอดเวลา
พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อจะอยู่ในดินได้หลายสัปดาห์
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิในลำไส้ซึ่งดูดกินโลหิตจากผนังลำไส้ของมนุษย์เป็นอาหาร
ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ซูบซีด อ่อนเพลีย ง่วงเหงาหาวนอน เหนื่อยง่าย
สมองมึนงงและเป็นลมบ่อย ๆ ร่างกายไม่แข็งแรง
ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กจะทำให้เจริญเติบโตช้า
อาการที่พบทั่วไปคือ อ่อนเพลีย
ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หิวอาหารบ่อย
หากมีอาการโลหิตจางมากอาจมีบวมน้ำทั่วร่างกาย
สำหรับอันตรายที่เกิดจากตัวอ่อนที่ไชเข้าสู่ร่างกายคือ
ทำให้คันตามง่ามมือง่ามเท้า เกิด ตุ่มใสๆ มีน้ำเหลืองภายใน
ตุ่มอาจจะแตกออกกลายเป็นน้ำหนองหรือแผลเรื้อรังได้
การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยมักมีอาการซีด และโลหิตจาง ในรายที่มี การซีดมากๆ
อาจเกิดอาการบวมและหัวใจวายได้ เด็กที่ซึมง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา เรียน
หนังสือไม่ค่อยรู้เรื่อง ควรจะได้รับการตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่ของพยาธิชนิดนี้
1.เมื่อตรวจโลหิต
จะพบว่ามีเม็ดโลหิตขาวอีโอสิโนฟิล (Eosinophils) สูง
2.ตรวจอุจจาระพบตัวอ่อนของพยาธิ
การรักษาและควบคุมป้องกันโรค
เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในเรื่องพยาธิเส้นด้าย และพยาธิไส้เดือน
นอกจากนั้นควรสวมรองเท้าและระมัดระวังไม่ให้ตัวอ่อนของพยาธิไชเข้าสู่
ง่ามมือง่ามเท้า
สำหรับผู้ที่เป็นโรคพยาธิควรกินยาถ่ายพยาธิ
เพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อติดต่อไปสู่ผู้อื่น
ยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคพยาธิปากขอ
1.ไทอาเบนดาโซล (Thiabendazole)
(Mintezol) ขนาด 25 มก./นน.ตัว 1 กก.
2.ฟูกาคาร์ (Fugacar) วิธีใช้ดูตามฉลาก
ฯ
3.ยาถ่ายพยาธิปากขอแบบสุมนไพรพื้นบ้านได้แก่มะเกลือ ขนาด 1 ลูกต่ออายุ 1 ปี แต่สูงสุดไม่ควรเกิน 20 ลูก
ใช้ลูกสีเขียว (สีดำไม่ใช้) นำมาตำในครกให้แหลก แล้วคั้นเอาน้ำมากิน อาจใส่กับกะทิ
หรือแต่งรสอย่างใดก็ได้ กินครั้งเดียว
จะป้องกันสัตว์จากโรคพยาธิปากขอได้อย่างไร
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ
การกำจัดอุจจาระจากสัตว์ทันที ควรควบคุมสัตว์เลี้ยงให้สัมผัสกับดินที่อาจมีพยาธิให้น้อยที่สุด
ควรพาสัตว์ไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาพยาธิและถ่ายพยาธิเป็นประจำ โดยเฉพาะลูกสุนัข
จะป้องกันตัวจากโรคพยาธิปากขอได้อย่างไร
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันพยาธิปากขอ
คือ สุขอนามัย ควรล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับสัตว์ ดิน หรือสนามหญ้า
การถ่ายพยาธิสัตว์ที่ติดเชื้อจะทำให้ลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและโอกาสติดเชื้อสู่คน
การวินิจฉัย
ตรวจอุจาระพบไข่และพยาธิในอุจาระ
ควรจะตรวจอุจาระใหม่ หากเกิน 24 ชั่วโมงไข่จะกลายเป็นตัวอ่อน
ที่มาของภาพ : http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/parasite/HOOKWORM.htm#.
ที่มาของภาพ : http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/parasite/HOOKWORM.htm#.
การรักษา
การรักษาทั่วไป ถ้าผู้ป่วยซีดควรจะให้เลือดหรือธาตุเหล็ก
ยาฆ่าพยาธิชื่อ Pyrantel
pamoate( 125 มก./เม็ด) ขนาด 10-20 มก./กก
ให้วันละครั้ง 2 วัน
Mebendazole(100 มก)ให้ 1 เม็ดเช้า-เย็นเป็นเวลา 3 วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น